เมนู

ไว้ โดยนัยอย่างนี้ว่า ผู้กล้า มีสติ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรม
วินัยนี้ เป็นต้น ความยินดีในฌานเป็นต้น ในเทวโลกอย่างอื่นใดอีก และ
นิพพานสมบัติ ตามที่กล่าวแล้วอันใด อิฐผลดังว่ามาแม้นี้ ตรัสไว้เป็นส่วน
ที่สามพึงทราบว่า อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้. พึงทราบ
การพรรณนาความในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พรรณนาคาถาที่ 14


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงนิพพานสมบัติที่พึงได้ด้วยปัญญานุ-
ภาพ และที่พึงบรรลุโดยความเป็นพระอริยบุคคลมีเป็นสัทธานุสารีเป็นต้น ด้วย
คาถานี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงแสดงนิพพานนั้น และอุบายแห่งนิพพาน
นั้น โดยความเป็นผู้ชำนาญในวิชชา 3 และอุภโตภาควิมุตติ จึงตรัสคาถานี้ว่า
ความที่บุคคลถ้าอาศัยมิตตสัมปทาประกอบความ
เพียรโดยอุบายแยบคาย เป็นผู้ชำนาญ ในวิชชาและ
วิมุตติ อิฐผลทั้งหมดนั้น อันบุคคลย่อมได้ ด้วยบุญ
นิธินี้.

พรรณนาบทของคาถานั้น มีดังนี้ว่า ชื่อว่า สัมปทาเพราะเป็นเครื่อง
สำเร็จผล คือถึงความเจริญแห่งคุณสัมปทา คือมิตร ชื่อว่ามิตรสัมปทา. ซึ่ง
มิตรสัมปทานั้น. บทว่า อาคมฺม แปลว่า อาศัย. บทว่า โยนิโส ได้แก่
โดยอุบาย. บทว่า ปยุญฺชโต ได้แก่ ทำความขยันประกอบ. ชื่อว่า วิชชา
เพราะเป็นเครื่องรู้แจ้ง. ชื่อว่า วิมุตติ เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้น หรือหลุดพ้น
เอง. ทั้งวิชชาทั้งวิมุตติ ชื่อว่า วิชชาและวิมุตติ. ความเป็นผู้ชำนาญ ในวิชชา
และวิมุตติชื่อว่า วิชชาวิมุตติวสีภาวะ.